ข้ามไปเนื้อหา

เพศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การสืบพันธุ์ที่สำเร็จ เกิดผมการรวมตัวกันของสเปิร์มและเซลล์ไข่

เพศ (อังกฤษ: sex) ในชีววิทยา คือ ขั้นตอนการเชื่อมโยงและการผสมผสานกลไกเฉพาะทางพันธุกรรม ที่มักมีผลให้เกิดในเพศชายหรือเพศหญิงที่แตกต่างกันไป

การเกิดเพศของสัตว์ในทางวิทยาศาสตร์ เริ่มจากสัตว์สร้างรูของร่างกายขึ้นมาหนึ่งรู ในการกิน และขับถ่ายโดยใช้แค่รูเดียวกันนั้น ต่อมาสัตว์ใช้รูนั้นในการแบ่งเซลด้วย ต่อมาก็ใช้รูนั้นในการแบ่งเซลด้วยการปล่อยสเปิม โดยมีสัตว์ตัวอื่นเผ่าพันธุ์เดียวกัน ใช้รูของตนรับสเปิมเข้าไปผสมกับเซลของตัวเอง และฟักแบ่งตัวออกจากรูนั้นเมื่อผสมเซลทั้งสองเซลสำเร็จ ต่อมาสัตว์ได้วิวัฒนาการให้มีรูเพิ่มขึ้นและทำหน้าที่เฉพาะ คือ รูที่ใช้ในการกินรูหนึ่ง รูที่ใช้ในการขับถ่ายรูหนึ่ง รูที่ใช้ในการปล่อยสเปิมรูหนึ่ง และรูที่ใช้ในการรับสเปิมรูหนึ่ง ต่อมาสัตว์ได้พัฒนาขึ้นจน จะมีตัวที่มีแค่อวัยวะปล่อยสเปิม หรือตัวที่มีแค่อวัยวะรับสเปิม อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เมื่อวิวัฒนาการถึงจุดนี้ ก็เรียกได้ว่าเพศได้เกิดขึ้นมาในสัตว์อย่างสมบูรณ์แล้ว คือตัวที่มีแค่อวัยวะปล่อยสเปิมอย่างเดียว จะเรียกว่าเพศชาย ส่วนตัวที่มีแค่อวัยวะรับสเปิมอย่างเดียว จะเรียกว่าเพศหญิง

เพศทางชีววิทยา (Biological Sex) หมายถึง ลักษณะทางกายภาพและชีวภาพที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ซึ่งโดยทั่วไปจะพิจารณาจาก

  1. โครโมโซมเพศ (Sex Chromosomes) โดยทั่วไปผู้หญิงจะมีโครโมโซม XX และผู้ชายจะมีโครโมโซม XY (แต่ก็มีความหลากหลายทางโครโมโซมที่เป็นไปได้)
  2. อวัยวะเพศ (Genitalia) อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและภายใน
  3. ฮอร์โมนเพศ (Sex Hormones) ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในผู้หญิง และเทสโทสเตอโรนในผู้ชาย

ลักษณะทางเพศขั้นทุติยภูมิ (Secondary Sexual Characteristics) คือ ลักษณะที่พัฒนาขึ้นในช่วงวัยแรกรุ่น เช่น หน้าอกของผู้หญิง เสียงแตกหนุ่มและหนวดเคราของผู้ชาย โดยทั่วไปเพศทางชีววิทยาจะถูกระบุว่าเป็น ชาย (Male) หรือ หญิง (Female) แต่ก็มีบุคคลที่มีลักษณะทางชีววิทยาที่ไม่สามารถจัดอยู่ในหมวดหมู่ใดหมวดหมู่หนึ่งได้อย่างชัดเจน ซึ่งเรียกว่า อินเตอร์เซ็กส์ (Intersex)

อัตลักษณ์ทางเพศ (Gender Identity) หมายถึง ความรู้สึกภายในของบุคคลเกี่ยวกับเพศของตนเอง ซึ่งอาจตรงหรือไม่ตรงกับเพศทางชีววิทยาที่ได้รับมาแต่กำเนิด

อัตลักษณ์ทางเพศเป็นเรื่องส่วนบุคคลและเป็นความรู้สึกภายใน เช่น ชาย (Man) หญิง (Woman) และ นอน-ไบนารี (Non-binary) อัตลักษณ์ทางเพศที่ไม่ใช่ชายหรือหญิงโดยเฉพาะ อาจเป็นทั้งสองอย่าง ผสมกัน หรืออย่างอื่น รวมไปถึง เจนเดอร์ฟลูอิด (Genderfluid) อัตลักษณ์ทางเพศที่เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาและอื่นๆ อีกมากมาย

การแสดงออกทางเพศ (Gender Expression) หมายถึง วิธีที่บุคคลแสดงออกถึงเพศของตนเองต่อภายนอก ผ่านทาง เสื้อผ้า (Clothing) ทรงผม (Hairstyle) การแต่งหน้า (Makeup) กิริยาท่าทาง (Mannerisms) น้ำเสียง (Voice) และอื่นๆ

การแสดงออกทางเพศไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับเพศทางชีววิทยาหรืออัตลักษณ์ทางเพศ

บทบาททางเพศ (Gender Roles) หมายถึง ชุดของความคาดหวังทางสังคมเกี่ยวกับพฤติกรรม ทัศนคติ และลักษณะที่ "เหมาะสม" สำหรับผู้ชายและผู้หญิงในสังคมนั้นๆ บทบาททางเพศเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นทางสังคมและวัฒนธรรม และสามารถแตกต่างกันไปในแต่ละสังคมและยุคสมัย

รสนิยมทางเพศ (Sexual Orientation): หมายถึง ความรู้สึกต่อเพศตรงข้าม มีอารมณ์ใคร่ มีอารมณ์ความรัก และ/หรือมีอารมณ์ทางเพศต่อผู้อื่น ซึ่งเกิดจากการทำงานของสมองที่ปกติจะมองฟังได้กลิ่นสัมผัสเพศตรงข้ามแล้วเกิดอารมณ์ แต่ก็มีโอกาสที่การทำงานของสมองนั้นอาจเกิดกับเพศเดียวกันแทนที่จะเป็นคนต่างเพศ หรือบางกรณีอาจเกิดมีอารมณ์กับทั้งสองเพศก็ได้ หรือไม่มีอารมณ์กับเพศใดเลยก็ได้

รสนิยมทางเพศที่พบบ่อย ได้แก่ รักต่างเพศ (Heterosexual) สนใจในเพศตรงข้าม ,รักร่วมเพศ (Homosexual) สนใจในเพศเดียวกัน (เกย์สำหรับผู้ชาย เลสเบี้ยนสำหรับผู้หญิง),รักสองเพศ (Bisexual) สนใจต่อทั้งเพศชายและเพศหญิง,แพนเซ็กชวล (Pansexual) สนใจโดยไม่จำกัดเพศ ,อะเซ็กชวล (Asexual) ไม่มีความรู้สึกสนใจทางเพศต่อผู้อื่นเลย

เมื่อรสนิยมทางเพศประกอบกับการแสดงออกทางเพศร่วมกับอัตลักษณ์ทางเพศและเพศกำเนิด จึงเกิดเพศสภาพทั้งหมด 18 ลักษณะ

การเข้าใจความหมายที่หลากหลายของ "เพศ" เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างสังคมที่เปิดกว้าง ยอมรับความแตกต่าง และเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคน ช่วยลดอคติ การเลือกปฏิบัติ และส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ โดยสรุป "เพศ" ไม่ได้มีเพียงแค่สองขั้ว (ชาย/หญิง) แต่เป็นสเปกตรัมที่กว้างขวางและซับซ้อน ซึ่งประกอบด้วยมิติทางชีววิทยา จิตใจ และสังคม

การปรับปรุงทางสารพันธุกรรม

[แก้]

การสืบพันธุ์เกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงเซลล์สืบพันธุ์ให้เกิดลูกหลายที่รับสิ่งสืบทอดมาจากทั้งพ่อและแม่ เซลล์สืบพันธุ์สามารถรวมกันในลักษณะที่เซลล์มีรูปร่างเหมือนกันทั้งรูปร่างและขนาด ที่เรียกว่า ไอโซแกมีต (isogamete) ส่วนการรวมตัวของเซลล์สืบพันธุ์ที่มีขนาดและรูปร่างต่างกัน เรียกว่า เฮเทโรแกมีต (heterogamete) โดยเซลล์สืบพันธุ์จากเพศผู้ เรียก สเปิร์ม (sperm) ส่วนเซลล์สืบพันธุ์จากเพศเมีย เรียกว่า ไข่ (egg) พบในสัตว์และพืชทั่วๆ ไป โดยมีลักษณะที่ดีและด้อยที่แตกต่างกันนำมาซึ่งการเพิ่มจำนวน

อ้างอิง

[แก้]